ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ต้องจ่ายไปในทันทีที่เรามีรายได้

นิติบุคคลผู้จ่ายเงินจะเป็นผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีให้กับกรมสรรพากร แทนผู้มีเงินได้

แต่อย่างไรก็ตามทางกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ที่มีรายได้ในแต่ละครั้งนั้นถ้าไม่ถึง 1,000 บาทก็ไม่ต้องหัก ภาษี ณ ที่จ่าย

ประเภทเงินได้ที่ต้องหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย มีดังนี้

1.ค่านายหน้า ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าลิขสิทธิ์

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วนและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น

2.ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน พันธบัตรหุ้นกู้  

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วนไม่รวมถึงธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น

3.ค่าเช่าอาคารหรือบ้าน

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วน มูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น และบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่แตกต่างกันออกไป คือร้อยละ 5.0 10.0 และ 5.0 ตามลำดับ

4.ค่าจ้างทำของ

เช่น การรับเหมาก่อสร้าง และค่าบริการต่างๆ ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ บริษัทห้างหุ้นส่วน และบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากันคือร้อยละ 3.0

5.ค่าโฆษณา

ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 2.0

6.ค่าขนส่ง

เช่น จ้างรถขนของ เป็นต้น ผู้ที่ต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายคือ นิติบุคคลและบุคคลธรรมดา ซึ่งจะเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตราที่เท่ากัน คือร้อยละ 1.0

สำหรับ การยื่นจ่าย ภาษีหัก ณ ที่จ่าย นี้ ทางกฎหมายได้กำหนดให้ใช้แบบฟอร์มในการยื่นเสียภาษีที่แตกต่างกันออกไป

แบบ ภ.ง.ด. 53  นิติบุคคล บริษัทห้างหุ้นส่วนที่ไม่มีข้อยกเว้นและมูลนิธิหรือสมาคมที่ไม่มีข้อยกเว้น

แบบ ภ.ง.ด. 3 จะใช้ในการยื่นจ่ายภาษีส่วนบุคคลธรรมดานั่นเอง

  • นิติบุคคลผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย จะต้องนำส่งให้กรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป